Facebook สาขาวิชา 

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

การเรียนการสอน

  • วางแผนดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพอาหารและโภชนาการตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • สื่อสาร หาความรู้เสริมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างภาษากับเทคนิคในงานอาชีพ
  • ประยุกต์ใช้งานศิลปะและเทคโนโลยีในการออกแบบและจัดตกแต่งอาหารบรรจุภัณฑ์อาหาร ให้เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์ ตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้และบริหารจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประกอบอาหารตามตำรับ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามกระบวนการและตามหลักโภชนาการ
  • ออกแบบ จัดตกแต่งอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร บริการอาหาร เครื่องดื่ม และจัดจำหน่าย
  • จัดเก็บ ทำความสะอาด และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเตรียม และประกอบอาหาร

แนวทางการประกอบอาชีพ

ผู้ช่วยโภชนากร ผู้ช่วยนักวิชาการโภชนาการ ผู้ช่วยกุ๊ก รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย พนักงานขายเกี่ยวกับอาหาร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการผลิตที่เกี่ยวกับอาหาร วัตถุดิบทางการเกษตร พนักงานโรงแรม – ห้องอาหาร ฯลฯ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 - 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 - 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) ระบบปกติ และระบบทวิภาคี

การเรียนการสอน

  • วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานอาชีพตามหลักการและแบบแผนที่กำหนด โดยใช้ / เลือกใช้ / ปรับใช้ กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
  • เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการโดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • แสดงความรู้ในหลักการทฤษฎีของสาขาวิชาอาหารและโภชนาการอย่างกว้างขวาง
  • ใช้หลักการจัดการและกระบวนการ วางแผน ดำเนินงาน จัดการงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
  • ประกอบอาหาร แปรรูปอาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามหลักโภชนาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์
  • ประยุกต์ใช้อุปกรณ์เครื่องมือและบำรุงรักษาพื้นที่สำหรับผลิตอาหาร โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ดูแลรักษาและเสริมสร้างสุขอนามัยในการจัดเตรียม ประกอบ เก็บรักษาควบคุมคุณภาพอาหารตามมาตรฐานสากล
  • ระยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านอาหารและโภชนาการ
  • บริหารจัดการ ประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการด้วยตนเอง
  • วางแผน ออกแบบ ประกอบ และควบคุมคุณภาพอาหารตามหลักการและกระบวนการ
  • ประกอบอาหารเพื่อการดำเนินธุรกิจตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้และหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารตามหลักการและกระบวนการ

แนวทางการประกอบอาชีพ

โภชนากร กุ๊ก ผู้ช่วยเชฟ รับราชการส่งเสริมการเกษตร พนักงานโรงแรมและร้านอาหาร ประกอบธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 8,000 - 15,000 บาท
  • ภาคเอกชน 9,000 - 18,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)
ครูผู้สอน

นายจักรพันธ์ จันทร์เขียว

  หัวหน้าสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ข้าราชการครู

นางณัชนันท์ ศักดิ์พงศ์สิงห์

  ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ข้าราชการครู

นางอำภา สุภาพ

  ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ข้าราชการครู

นางสาวสุธาทิพย์ อยู่ตั้ง 

  ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ข้าราชการครู

นางวิภาพร หล้ากันใจ

  ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
พนักงานราชการครู

นางสาววิสุดา ขัติยะ

  ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ครูพิเศษสอน

นายเสกสรร  ป้อมบู่

  ครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ครูพิเศษสอน

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

Copyright©2023 Uttaradit Vocational College.All Right Reserved.
งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
เลขที่ 9 ถนนแปดวา ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์ : 055411221