Facebook สาขาวิชา 

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบปกติ และระบบทวิภาคี

การเรียนการสอน

  • วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานอาชีพตามหลักการและแบบแผนที่กำหนด โดยใช้ / เลือกใช้ / ปรับใช้ กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
  • เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการโดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงาน ด้านการออกแบบแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
  • บริหารจัดการ ประสานงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพ ด้านการออกแบบแฟชั่นและเครื่องแต่งกายด้วยตนเอง
  • สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิชาชีพ

แนวทางการประกอบอาชีพ

ตัดเย็บเสื้อผ้า ออกแบบเสื้อผ้า รับราชการ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย / พนักงานขายเกี่ยวกับเสื้อผ้า ฝ่ายซ่อมแซมงานผ้า ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การตัดเย็บเสื้อผ้า จำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 8,000 - 15,000 บาท
  • ภาคเอกชน 9,000 - 18,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)
ครูผู้สอน

นางสาวธนัชชา ยมนา

  หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
ข้าราชการครู

นางสาวสาวิมล คำเพ็ง

  ครูสาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
ข้าราชการครู

นายกิตติกานต์  ชาญสมาธิ

  ครูสาสาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
ครูพิเศษสอน

นางสาววราภรณ์  สุดทอ

  ครูสาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
ครูพิเศษสอน

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

Copyright©2023 Uttaradit Vocational College.All Right Reserved.
งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
เลขที่ 9 ถนนแปดวา ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์ : 055411221